
การก่อตั้งสำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (มกท.)
การรับรองระบบงานและการยอมรับ
2538
ก่อตั้งองค์กรอิสระ โดยมีเป้าหมายที่จะให้บริการตรวจรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ โดยการสนับสนุนของเครือข่ายเกษตรทางเลือก องค์กรพัฒนาเอกชน นักวิชาการ องค์กรผู้บริโภค สื่อมวลชนและเครือข่ายร้านค้าสีเขียว ที่ทำงานสนับสนุนระบบเกษตรกรรมยั่งยืน
2542
มกท. ได้ริเริ่มพัฒนา มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ขึ้นเป็นครั้งแรก แล้วจึงเริ่มให้บริการตรวจรับรองในปีเดียวกัน
2544
เดือนกันยายน ดำเนินการจดทะเบียนเป็น มูลนิธิมาตรฐานเกษตรอินทรีย์
ได้รับการรับรองระบบงานเกษตรอินทรีย์ IFOAM (IFOAM Accreditation Program) จาก International Organic Accreditation Service (IOAS)
2548
ได้รับรองระบบงานเกษตรอินทรีย์ไทย จากสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (จนกระทั่ง 2551)
ได้รับรองระบบงาน ISO Guide 65 จาก IOAS (จนกระทั่ง 2559, เนื่องจากระบบ ISO Guide65 ถูกแทนที่โดย ISO 170065)
2552
ได้รับรองระบบงานเกษตรอินทรีย์แคนาดา (Canadian Organic Regime – COR) และขึ้นทะเบียนหน่วยตรวจรับรองจาก Canadian Food Inspection Agency (CFIA)
2554
ขึ้นทะเบียนหน่วยตรวจรับรองเกษตรอินทรีย์ตามข้อกำหนด(EC) No. 1235/2008 (Article 10) โดยสหภาพยุโรป ในเดือนตุลาคม
2555
ขึ้นทะเบียนหน่วยตรวจรับรองเกษตรอินทรีย์ตามข้อกำหนดการผลิตเกษตรอินทรีย์ Switzerland’s Organic Farming Ordinance (SR 910.18) (Article 23a) โดยรัฐบาลสวิสเซอร์แลนด์ ในเดือนกรกฎาคม
2560
ดำเนินการจดทะเบียนเป็นบริษัท เอซีที ออร์แกนิค จำกัด
ได้รับรองระบบงาน ISO 170065
ตรวจสอบรายชื่อ มกท. ในการขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยตรวจรับรองเกษตรอินทรีย์โดยหน่วยงานต่างๆ
IOAS, สหภาพยุโรป EU(หน้าที่ 87) , สมาพันธรัฐสวิส (หน้าที่ 37) , สหพันธ์เกษตรอินทรีย์แคนาดา CFIA
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
วิสัยทัศน์ของ มกท. คือ สัญลักษณ์คุณภาพแห่งการตรวจรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์สากล เพื่อสังคมที่น่าอยู่ และสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนและมีพันธกิจหลักในการดำเนินงาน คือ
1. ให้บริการตรวจรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่สากลยอมรับ
2. ให้บริการตรวจรับรองมาตรฐานอื่นๆ ด้านเกษตร สิ่งแวดล้อมและสังคม
3. ให้บริการฝึกอบรมและเผยแพร่ความรู้เรื่องเกษตรอินทรีย์ และตรวจรับรองแก่ผู้สนใจ แต่ไม่ดํําเนินกิจการใดๆ ที่อาจส่งผลต่อความเป็น กลางของ มกท. ในการตรวจและรับรองมาตรฐาน
4. สนับสนุนวิถีเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทย และต่างประเทศ
5. พัฒนาศักยภาพของบุคลากรในองค์กรให้มีความเป็นมืออาชีพในการให้บริการตรวจรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์
6. พัฒนานวัตกรรมขององค์กรอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
โครงสร้างองค์กร
สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (มกท.) เป็นการดำเนินการภายใต้นิติบุคคลสององค์กร ได้แก่ มูลนิธิมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ และบริษัท เอซีทีออร์แกนิค จำกัด โดยการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมขึ้นกำกับดูแลในภาพรวม
มูลนิธิฯ ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงกำไรเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ มกท. และตราสัญลักษณ์การรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (ตรา มกท. ที่เป็นรูปรวงข้าวทั้งภาษาไทยและอังกฤษ รวมถึงตราที่มีคำว่า IFOAM Accredited อยู่ด้านล่าง)
ส่วนบริษัท เอซีทีออร์แกนิค จำกัด รับผิดชอบงานในฐานะหน่วยตรวจรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ รายได้จากการบริการจำนวนหนึ่งบริจาคให้แก่มูลนิธิฯเพื่อดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ต่อไป
