คำถาม-คำตอบข้างล่างนี้ รวบรวมจากคำถามที่มีผู้สอบถามเข้ามาที่ มกท. เกี่ยวกับเรื่องต่างๆ
ถ้าท่านมีคำถามอื่นที่ยังไม่มีคำตอบ สามารถส่งอีเมล์เข้ามาถามเราได้ที่ [อีเมล์]
มาตรฐาน
ทำไมต้องมีข้อกำหนดเรื่องระยะปรับเปลี่ยน
เนื่องจากมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ถูกจัดทำขึ้นโดยการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วน เกี่ยวข้องหลายฝ่าย ทั้งเกษตกรผู้ผลิต นักสิ่งแวดล้อม ผู้บริโภค ซึ่งแต่ละฝ่ายมีความเห็นต่อเรื่องนี้แตกต่างกันไป เกษตรกร: ระยะปรับเปลี่ยนเป็นช่วงเวลาที่ให้เกษตรกรได้ทดลองปรับเปลี่ยนการบริหาร จัดการผลิตใหม่ ซึ่งเกษตรกรต้องใช้ระยะเวลาเรียนรู้ช่วงหนึ่ง อีกทั้งเป็นการ “วัดใจ” เกษตรกรว่า สามารถทำเกษตรอินทรีย์ได้ต่อเนื่องจริงหรือไม่ นักสิ่งแวดล้อม: ระยะปรับเปลี่ยนเป็นช่วงที่ระบบนิเวศการเกษตรได้ปรับสภาพ จากเดิมที่เสียสมดุลเนื่องจากการใช้สารเคมีการเกษตรและการจัดการฟาร์มที่ไม่ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (เช่น การเตรียมดินด้วยการเผาฟาง) ให้ระบบนิเวศเกษตรได้มีเวลาฟื้นตัวจนเกิดความสมดุล ผู้บริโภค: สารเคมีการเกษตรบางส่วนที่ตกค้างในฟาร์มน่าจะสลายตัวไปตามธรรมชาติ ทำให้มีสารเคมีปนเปื้อนในฟาร์มเกษตรอินทรีย์ลดลง ด้วย เหตุนี้ ระยะปรับเปลี่ยนของแต่ละมาตรฐานจึงแตกต่างกันไป เช่น ระบบเกษตรอินทรีย์ IFOAM กำหนดระยะปรับเปลี่ยนไว้ 12 เดือนสำหรับพืชล้มลุกและ 18 เดือนสำหรับพืชยืนต้น ในขณะที่ระบบเกษตรอินทรีย์ของยุโรปและของแคนาดากำหนดระยะปรับเปลี่ยนไว้ 24 และ 36 เดือน (ตามลำดับ)
เริ่มนับระยะปรับเปลี่ยนเมื่อไหร่
ในการตรวจรับรองของ มกท. ในทุกระบบมาตรฐาน มกท. จะเริ่มนับระยะปรับเปลี่ยนจากวันที่ผู้ประกอบการได้ลงนามในใบสมัครและข้อ ตกลงการข้อรับรองมาตรฐาน (ซึ่งมีการระบุวันที่ไว้ด้วย) แม้ว่าผู้ประกอบการอาจส่งเอกสารใบสมัครให้กับ มกท. ในอีก 2 – 3 วันถัดมา ดังนั้น ผู้ประกอบการไม่ควรลงนามในใบสมัครและข้อตกลงทิ้งไว้เป็นระยะเวลานานเกินไป เพราะ มกท. อาจไม่ยอมรับวันที่ที่ลงนามเป็นวันเริ่มต้นของระยะปรับเปลี่ยนก็ได้ ใน กรณีของการรับรองแบบกลุ่ม มกท. จะไม่ใช้วันที่ผู้ประกอบการลงนามเหมือนกรณีปกติ แต่จะใช้วันที่ที่ผู้ประกอบการได้ทำสัญญาข้อตกลงกับเกษตรกรที่เป็นสมาชิกผู้ ผลิต (ภายใต้ระบบควบคุมภายใน) เป็นวันเริ่มต้นระยะปรับเปลี่ยนของสมาชิกผู้ผลิตนั้นๆ แทน และเช่นเดียวกัน เมื่อผู้ประกอบการจัดทำระบบควบคุมภายในแล้วเสร็จ ก็ไม่ควรทิ้งระยะเวลานาน ก่อนที่จะส่งใบสมัครให้กับ มกท. มิฉะนั้น มกท. อาจไม่ยอมรับวันลงนามของสมาชิกผู้ผลิตในสัญญาข้อตกลงเป็นวันเริ่มต้นของระยะ ปรับเปลี่ยนก็ได้
ในช่วงระยะปรับเปลี่ยน ต้องทิ้งที่ดินไว้เปล่าๆ หรือไม่
มีผู้ประกอบการจำนวนมากที่เข้าใจผิดว่า ในช่วงระยะปรับเปลี่ยนนั้น จะต้องปล่อยที่ดินทิ้งไว้เปล่าๆ ห้ามทำการผลิต ที่จริงแล้ว ในช่วงนี้ ผู้ประกอบการจะทำการผลิตหรือไม่ก็ได้ แต่ไม่ว่าจะทำการผลิตหรือไม่ ผู้ประกอบการจะต้องปฏิบัติตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่ขอการรรับรอง และ มกท. จะต้องทำการตรวจฟาร์มดังกล่าวในช่วงระยะปรับเปลี่ยนด้วย
แล้วจะขอลดระยะปรับเปลี่ยนได้หรือไม่
มกท. สามารถพิจารณาลดระยะปรับเปลี่ยนได้ ถ้าบริเวณพื้นที่แปลงดังกล่าวไม่ได้ใช้สารเคมีต้องห้ามในช่วงเวลาที่มาตรฐานกำหนด โดยอาจเป็นพื้นที่ว่างเปล่าหรือเพาะปลูกในระบบเกษตรธรรมชาติมาก่อนก็ได้ ซึ่งหลักฐานที่ มกท. จะใช้ในการพิจารณาลดระยะปรับเปลี่ยน ได้แก่ (1) บันทึกบัญชีฟาร์มที่มีข้อมูลน่าเชื่อถือแสดงกิจกรรมการผลิตและการใช้ปัจจัยการผลิตในฟาร์มก่อนหน้าสมัครขอรับรอง และ/หรือ (2) หนังสือให้คำรับรองจากหน่วยงาน/บุคคลภายนอกที่น่าเชื่อถือ ได้แก่ หน่วยงานองค์กรพัฒนาเอกชน สถาบันวิชาการ หรือหน่วยงานราชการ/เจ้าหน้าที่รัฐที่ทำงานในพื้นที่นั้น ยืนยันว่า – พื้นที่ฟาร์มไม่มีการใช้สารเคมีต้องห้าม (ระบุระยะเวลา) หรือ – เกษตรกรได้ทำการผลิตตามหลักเกษตรอินทรีย์มาเป็นเวลานาน (ระบุระยะเวลา) นอกจากนี้ ทาง มกท. จะต้องตรวจแปลงที่จะขอลดระยะปรับเปลี่ยนก่อน จึงจะสามารถพิจารณาว่า จะลดระยะปรับเปลี่ยนให้ได้หรือไม่ และลดระยะปรับเปลี่ยนลงเหลือมากน้อยเพียงใด
การตรวจรับรอง
• อ่านคู่มือ คู่มือทั่วไปสำหรับผู้ขอรับรอง เพื่อศึกษาและตัดสินใจว่าจะขอรับรองมาตรฐานอะไร และขอบข่ายอะไร
• อ่านและทำความเข้าใจมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ [มาตรฐาน มกท. / IFOAM / EU] ส่วนมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แคนาดา ดูได้ที่ [มาตรฐานแคนาดา]
- เริ่มจากการศึกษามาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่จะขอการรับรอง และอ่านคู่มือการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์กับ มกท.
- เมื่อเข้าใจข้อกำหนดเงื่อนไขเกษษตรอินทรีย์แล้ว จึงกรอกเอกสารการสมัคร ตามประเภท (ขอบข่าย) การขอรับรอง พร้อมลงชื่อ
- ส่งเอกสารใบสมัครมาที่ มกท.
- เมื่อเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบข้อมูลในใบสมัครว่าครบถูกต้องแล้ว มกท.จะออกใบเรียกเก็บค่าธรรมเนียม เพื่อให้ผู้สมัครได้ชำระค่าธรรมเนียม ก่อนการไปตรวจ
- ผู้ตรวจจาก มกท. เข้าไปตรวจประเมินสถานที่ผลิตและประกอบการ
- มกท. จัดส่งรายงานการตรวจให้คุณยืนยันรายงาน
- มกท. แจ้งผลการตรวจรับรองให้ทราบ
ในการตรวจรับรองตามมาตรฐานตามโปรแกรมแคนาดาและสหรัฐอเมริกา มกท. อาจยกเว้นระยะปรับเปลี่ยนให้กับผู้ประกอบการที่ขอการรับรองกับ มกท. ได้ ถ้า
1) ผู้ประกอบการได้รับการรับรองเกษตรอินทรีย์จากหน่วยงานตรวจรับรองที่ มกท. ให้การยอมรับตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ใดๆ ก็ได้ แต่จะต้องได้รับการตรวจรับรองภายใต้โปรแกรมแคนาดาอีกอย่างน้อย 12 เดือนก่อน
2) ในกรณีที่ผู้ประกอบการได้รับการรับรองตามโปรแกรมแคนาดา หรือสหรัฐอเมริกา จากหน่วยรับรองที่ได้รับการขึ้นทะเบียนกับรัฐบาลแคนาดาหรือสหรัฐอเมริกา และผ่านระยะปรับเปลี่ยนแล้ว มกท. สามารถยกเว้นระยะปรับเปลี่ยนทั้งหมดได้
1. มีความเข้าใจและปฏิบัติตามข้อกำหนดในมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ได้และข้อกำหนดการตรวจรับรองของ มกท.
2. มีความมุ่งมั่นในการที่จะปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการผลิตให้เป็นไปตามข้อกำหนดมาตรฐานและการตรวจรับรอง
การใช้ตรารับรองเกษตรอินทรีย์

การส่งออก
โปรแกรมที่ มกท. ให้การตรวจสอบและรับรองปัจจุบัน สามารถช่วยคุณส่งสินค้าไปยังประเทศกลุ่มยุโรป รวมถึงสวิสเซอร์แลนด์ ประเทศแคนาดา ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศกลุ่มเอเชีย รวมถึงประเทศไต้หวัน (อาจมีข้อยกเว้นในบางประเทศที่มีกฎระเบียบอินทรีย์ เช่น จีน)
ระยะเวลา-ค่าใช้จ่าย
ปัจจัยการผลิต
เป็นจุลินทรีย์ป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช อนุญาตให้ใช้ได้ในทุกโปรแกรม ในกรณีที่เป็นผลิตภัณฑ์จำหน่ายในเชิงการค้า ต้องตรวจสอบว่า * ไม่ใช่จุลินทรีย์ที่ดัดแปลงพันธุกรรม โดยการขอจดหมายรับรองจากบริษัทผู้ผลิต
* ในบางกรณี พบความเสี่ยงในการปนเปื้อนสารเคมีด้วย
IFOAM Programme: ไม่อนุญาตให้ใช้น้ำอามิและกากตะกอนเป็นปุ๋ยหรือสารปรับปรุงดินเนื่องจาก (ก) ความเสี่ยงในการปนเปื้อนจุลินทรีย์ดัดแปลงพันธุกรรม และ (ข) ความเสี่ยงในการมีส่วนผสมของปุ๋ยยูเรียในกระบวนการหมัก EU Programme: เหมือน IFOAM Programme CANADA Programme: น้ำอามิและกากตะกอนเข้าข่ายเป็น Stillage และเป็น Ammmonium stillage ซึ่งไม่อนุญาตให้ใช้
IFOAM Programme: อนุญาตให้ใช้เฉพะ “ไคติน” ไม่ได้อนุญาตให้ใช้ “ไคโตซาน” และไคตินนั้นจะต้องได้มาด้วยกระบวนการ hydrolysis ที่ไม่ใช่กรด Canada Programme: ไม่ได้กล่าวถึงไว้ แต่จากการประเมินของ OMRI อนุญาตให้ใช้ไคตินได้ แต่ไม่อนุญาตให้ใช้ไคโตซาน